Zendesk Guide Professional มีการทำงานคร่าวๆ ดังต่อไปนี้
1. การปรับแต่งระบบฐานความรู้ (Knowledge Base)
- ระบบรองรับการสร้างเว็บศูนย์กลางการช่วยเหลือ (Help Center) ที่สามารถปรับแต่งตามความต้องการได้ เพื่อให้เป็นช่องทางในการให้บริการตนเอง (Self Service) ของลูกค้า
- ระบบรองรับการปรับแต่งธีม (Custom Themes) ตามความต้องการโดยใช้การเขียนภาษา HTML หรือ CSS หรือ Javascript ได้
- ระบบรองรับการสร้างบทความด้วยเครื่องมือ Rich Text Editor และ WYSIWYG editor ที่สามารถแนบรูปภาพและวีดีโอได้
- ระบบรองรับการแสดงประวัติการแก้ไขบทความได้
- ระบบรองรับการนำเนื้อหาที่ถูกลบกลับมาใหม่
- ระบบรองรับการควบคุมการเข้าถึงเนื้อหา (Access Control) โดยกำหนดสิทธิผู้เข้าถึงอันได้แก่ เอเจนท์ที่ทำงาน ผู้ใช้งานที่ลงทะเบียน หรือเปิดเป็นแบบสาธารณะ
2. การรอบรับการบริการตนเองของลูกค้า (Self Service)
- ระบบรองรับการเข้าถึงผ่านเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือโดยที่ไม่ต้องออกจากหน้าเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือในขณะกำลังใช้งาน
- ระบบรองรับการใช้ความช่วยเหลือแบบ Contextual Help ใน Web Widget เพื่อแนะนำบทความที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ผู้ใช้งานกำลังอ่าน
- ระบบรองรับการเชื่อมต่อกับระบบอื่นด้วย API
- ระบบรองรับการสร้าง Customer Portal เพื่อให้ลูกค้าหรือผู้ขอรับบริการสามารถเข้ามาบริหารจัดการคำร้องขอ (Request) ได้ด้วยตนเอง รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในชุมชน (Community) ที่สร้างบนระบบ
- ระบบรองรับการให้ลูกค้าหรือผู้ขอรับบริการยุติคำร้องขอ (Request) ของตนเองได้ เมื่อเอเจนท์ได้ส่งบทความที่มีประโยชน์และสามารถช่วยเหลือลูกค้าหรือผู้ขอรับบริการได้
- ระบบมีฟังก์ชั่นการทำงานของ Answer BOT ที่ทำงานโดยปัญญาประดิษฐ์หรือ Artificial Intelligence ในการตอบลูกค้าผ่านทางอีเมลโดยอัตโนมัติด้วยเนื้อหาหรือบทความที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยในการแก้ไขคำร้องขอของลูกค้าหรือผู้ขอรับบริการในระหว่างการรอความช่วยเหลือจากเอเจนท์
3. การเข้าถึงข้อมูลฐานความรู้
- ระบบสามารถรองรับการเข้าถึงฐานความรู้โดยเอเจนท์เพื่อใช้ในการตอบคำถามลูกค้าหรือผู้ขอรับบริการได้
- ระบบสามารถแสดงผลเนื้อหาหรือบทความที่เกี่ยวข้องเมื่อเอเจนท์ทำการค้นหา (Search) ด้วยคำหลัก (Keywords) ได้
- ในกรณีที่ไม่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในการตอบคำถามหรือแก้ปัญหาให้กับลูกค้าหรือผู้ขอรับบริการ ระบบรองรับให้เอเจนท์สามารถสร้างเนื้อหาและแบ่งปันเนื้อหาที่สร้างขึ้นใหม่ได้
- ระบบรองรับกระบวนการเผยแพร่เนื้อหาที่สร้างเนื้อหาใหม่โดยเอเจนท์ เมื่อมีการสร้างเนื้อหาใหม่ เนื้อหาจะถูกส่งไปยังผู้จัดการเนื้อหา (Content Manager) เพื่อทำการตรวจสอบและอนุญาติให้เผยแพร่
- ระบบรองรับการทำงานของการตอบคำถามอัติโนมัติ (Answer BOT) สำหรับทีมภายใน
4. การพัฒนาและเพิ่มเนื้อหาภายในระบบฐานความรู้
- ระบบรองรับการแสดงประวัติการแก้ไขเนื้อหา
- ระบบรองรับกระบวนการให้ผู้จัดการเนื้อหา (Content Manager) สามารถตรวจทาน อนุมัติ และเผยแพร่เนื้อหาได้
- ระบบรองรับการจัดการวงจรชีวิตของบทความ (Article Lifecycle Management) โดยผู้จัดการเนื้อหา (Content Managers) สามารถมอบหมายบทความให้ผู้เกี่ยวข้องทำการแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยได้
- ระบบรองรับการกำหนดสิทธิอนุญาติการเผยแพร่เนื้อหา (Publishing Permission) โดยการมอบหมายให้สมาชิกในทีมเป็นผู้อนุมัติและเผยแพร่เนื้อหา
- ระบบรองรับการแสนอแนะเนื้อหา (Content Cues) ด้วยการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI) ในการช่วยแนะนำว่าเนื้อหาใดบนระบบฐานความรู้ที่มีประโยชน์กับการให้บริการตนเองของลูกค้าหรือผู้ขอรับบริการ
5. การบริหารจัดการระบบฐานความรู้
- ระบบรองรับการจัดการเนื้อหาหรือบทความได้ตามระดับหัวข้อ และหัวข้อย่อย
- ระบบรองรับการจัดการเนื้อหาหรือบทความไม่น้อยกว่า 40 ภาษา
- ระบบรองรับการแสดงผลตามภาษาของในเครื่องของลูกค้าหรือผู้ขอรับบริการ
- ระบบรองรับการนำเข้า (Import) เนิ้อหาจาก Google Docs ได้โดยตรง
- ระบบรองรับการจัดการเนื้อหาหรือบทความแบบเป็นกลุ่ม (Bulk Actions)
- ระบบรองรับการแสดงภาพรวมของเนื้อหาหรือบทความที่เผยแพร่และยังไม่เผยแพร่ และสามารถค้นหา และกรองข้อมูลได้
- ระบบรองรับการจัดทำศูนย์ช่วยเหลือ (Help Centers) ได้หลากหลายแบรนด์ธุรกิจ เพื่อให้องค์กรสามารถจัดทำศูนย์ช่วยเหลือ (Help Centers) ที่หลากหลายรูปแบบ (Themes) ตามรูปแบบของแบรนด์
6. ข้อมูลการมีส่วนร่วมในการเข้าใช้ระบบฐานความรู้
- ระบบรองรับการส่งข้อมูลไปยัง Google Analytics เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมของผู้เข้าชมเว็บเพจฐานความรู้ได้
- ระบบรองรับการรายงานพฤติกรรมการค้นหาข้อมูลของลูกค้าและผู้ขอรับบริการได้ว่าเนื้อหาใดที่มีการค้นหามาก และเนื้อหาใดที่มีการค้นหา แต่แสดงผลว่าไม่พบข้อมูล เพื่อให้องค์กรสามารถจัดทำเนื้อหาที่ตรงกับความต้องการค้นหาของลูกค้าหรือผู้ขอรับบริการได้
- ระบบรองรับการแสดงข้อมูลการปฏิสัมพันธ์ของลูกค้าหรือผู้ขอรับบริการบนศูนย์ช่วยเหลือ (Help Centers) บน Web Widget และบนแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ เช่น จำนวนบทความใหม่ คำถามที่ถูกสร้างขึ้น จำนวนผู้อ่านข้อมูล จำนวนการโหวต การสมัครติดตาม (Subscription) และการแสดงความเห็น (Comments) เป็นต้น
- ระบบรองรับการเข้าถึงแดชบอร์ด (Dashboard) ของระบบข้อมูลความรู้ เพื่อให้ทราบถึงบทความหรือเนื้อหาใดที่เอเจนท์ใช้ในการช่วยตอบคำถามมากที่สุด
- ระบบรองรับการติดตามประสิทธิผลของระบบตอบอัตโนมัติ (Answer BOT) เพื่อนำข้อมูลไปปรับแต่งเพิ่มประสิทธิภาพของ Answer BOT ได้
ข้อคิดเห็น
0 ข้อคิดเห็น
โปรด ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อแสดงข้อคิดเห็น